วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายชัยบัญชา โถดาสา


วันเกิด 8 ธันวาคม 2506


ที่อยู่ 10/1 หมู่ 8 ต.สหัสขันธ์ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์


อาชีพ นักการเมืองท้องถิ่น


คติพจน์ ความผิดพลาดในวันนี้ คือบทเรียนที่ดีในวันต่อไป


ปัจจุบัน นักศึกษาเทียบโอนประสบการณ์ ศูนย์การเรียนรู้กาฬสินธุ์


วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร

ต้นไม้ประจำวันเกิด

ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับต้นไม้ที่มีมาแต่โบราณกาล เป็นความเชื่ออันเกี่ยวพันกับการปลูกเลี้ยงต้นไม้ชนิดต่างๆ ในแต่ละวันจะมีต้นไม้และดอกไม้ประจำวัน ซึ่งเชื่อว่าหากใครที่ปลูกต้นไม้หรือดอกไม้ประจำวันเกิด แล้วต้นไม้นั้นเจริญงอกงามได้ดี ชีวิตก็จะก้าวหน้า ร่างกายแข็งแรง หากออกดอกเบ่งบาน ชีวิตก็จะมีแต่ความสุข ความสมหวังอยู่เสมอ ความเชื่อเรื่องไม้มงคลประจำวันเกิดได้รับการสืบทอดและยังคงยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย

คนเกิดวันอาทิตย์มักมีความมุ่งมั่นสูง มีความรู้ความสามารถเป็นผู้นำ และชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ จริงใจ สุภาพอ่อนโยน แต่ก็อารมณ์ร้อน โมโหง่าย ประเภทโกรธง่ายหายเร็ว ความรักคือความท้าทาย สำหรับคนเกิดวันอาทิตย์ รักใครง่ายแต่ก็รักจริง และมักมีดวงในเรื่องของความรัก จนดูเป็นคนเจ้าชู้ คนเกิดวันอาทิตย์ควรระวังในเรื่องความใจร้อน เชื่อคนง่าย และเรื่องการใช้จ่ายเงิน เพราะเป็นคนใจกว้าง
โดยทั่วไป สีของวันอาทิตย์คือสีแดง แต่ไม้มงคลของคนที่เกิดวันอาทิตย์เป็นดอกไม้ที่มีสีเหลืองหรือสีส้ม ซึ่งเป็นสีแห่งความสว่างไสวตลอดกาล เป็นสิริมงคลและช่วยสร้างเสริมบารมีอย่างยิ่งสำหรับคนที่เกิดวันอาทิตย์

สมัยโบราณจะถูกใช้ในพิธีลงเสาหลักเมืองกล่าวกันว่าต้นราชพฤกษ์เป็นพรรณไม้ประจำชาติไทยของเรา ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นออกดอกมาที่สุดในช่วงเดือนเมษายนดอกจะมีสีเหลืองสดใส ห้อยเป็นโคมระย้าสวยงาม
ราชพฤกษ์

เป็นไม้กลางแจ้ง ประเภทพืชล้มลุกดอกเดี่ยว กลีบไม่ซ้อนสีเหลืองแก่ถึงส้มสุกเติบโตได้เร็วในดินทุกชนิด
ดาวกระจาย

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ออกดอกเป็นพุ่มใหญ่เรียงกันอยู่เป็นครึ่งวงกลมเข็มดอกเหลือง เป็นไม้มงคลสำหรับคนเกิดวันอาทิตย์

เข็ม

ดอกไม้อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักต้นมีทั้งไม้พุ่มและไม้เลื้อยกลิ่นหอมมาก-น้อยแตกต่างไปตามสายพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวจะให้ดอกที่สมบูรณ์และสวยงาม
กุหลาบ

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ออกดอกในช่วงต้นปีลักษณะคล้ายดอกแค สีแดงสดหรือสีส้มเวลาออกดอกจะผลัดใบจนหมดเหลือเพียงดอกสีส้มสุกสว่างบานอยู่เต็มต้น
ทองกวาว



คนเกิดวันจันทร์เป็นคนมีเสน่ห์ เจ้าชู้เงียบ สุภาพอ่อนหวาน กิริยางดงาม พูดจาไพเราะ มีน้ำใจ แต่โมโหร้าย ชอบแต่งตัว มีความพิถีพิถันละเอียดรอบคอบ ช่างเอาใจผู้อื่นและชอบให้ผู้อื่นเอาใจ คนเกิดวันจันทร์ ควรลดความวิตกกังวลลงบ้าง และควรระวังเรื่องการใช้จ่าย เรื่องการคบคน และอย่าตามใจตัวเองมากจนเกินไป
คนเกิดวันเสาร์ เป็นคนที่มีจิตใจเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยวอดทน และเอาจริงเอาจังกับทุกสิ่ง คิดอะไรถี่ถ้วน จนดูเป็นคนกังวล กิริยามารยาทดี เข้าสังคมเก่ง ชอบแสวงหาอะไรใหม่ๆ หัวแข็งและดื้อเงียบ คนที่เกิดวันเสาร์ควรลดความห้าวหาญลง รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นบ้าง
โดยทั่วไป สีของวันจันทร์คือสีเหลือง และสีของวันเสาร์คือสีม่วง แต่พรรณไม้มงคลของคนที่เกิดวันจันทร์และวันเสาร์ จะเป็นพรรณไม้ที่มีดอกสีขาว สีครีม หรือสีเหลือง ซึ่งเป็นสีดอกไม้ที่โฉลกตามตำราโบราณ และเชื่อว่าจะเสริมบารมี ความเป็นสิริมงคลให้คนที่เกิดวันจันทร์และวันเสาร์อย่างยิ่ง

พรรณไม้ไทยโบราณเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กนิยมปลูกเป็นไม้ประดับริมสระน้ำดอกสีขาวนวลออกเป็นช่อกระจะที่ซอกใบ
ไทรย้อย

ไม้ต้นขนาดเล็กออกดอกที่ปลายกิ่งดอกเป็นช่อสีขาวนวลเมื่อแรกบานนานวันจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองกลิ่นหอมแรงในช่วงหัวค่ำชอบอากาศชื้นและแสงแดด
พุดน้ำบุษย์

ไม้ยืนต้นไทยโบราณ ทรงพุ่มออกดอกเดี่ยวสีเหลืองนวลกลีบดอกหนาและแข็งเรียงเป็น 2 ชั้นออกดอกในช่วงปลายปี
ลำดวน

ไม้ยืนต้นทรงพุ่มกลมชอบแดดจัด ออกดอกตลอดทั้งปีดอกสีขาว กลิ่นหอมแรงช่วงใกล้โรยจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลนิยมนำดอกทั้งสดและแห้งมาทำเป็นเครื่องหอมไทยโบราณ
พิกุล

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กออกดอกเป็นช่อสีขาวอมเขียว กลิ่นหอมจัดและหอมไกลในช่วงเวลากลางคืน
ราตรี


คนเกิดวันอังคารเป็นคนแข็งแรง กล้าหาญ เป็นนักต่อสู้ทั้งกายและใจ ตรงไปตรงมา ถือความจริงใจเป็นหลัก จนดูเหมือนมีบุคลิกที่ก้าวร้าว ชอบงานอิสระที่ไม่ต้องการความประณีต เป็นคนแข็งนอกอ่อนใน เมื่อรักใครก็ไม่ค่อยแสดงท่าที แต่เป็นคนรักจริงและมั่นคงในความรัก คนเกิดวันอังคารควรระวังเรื่องความใจร้อนวู่วาม และควรวางแผนเรียบเรียงทางความคิดให้ดี
ไม้มงคลสำหรับคนเกิดวันอังคาร เป็นไม้ที่มีดอกสีแดง ชมพู หรือชมพูอมม่วง เป็นสีที่เสริมบารมีและสิริมงคลให้แก่คนที่เกิดวันอังคารตามหลักโหราศาสตร์โบราณเป็นอย่างมาก

กล้วยไม้ไทยสกุลแอสโคเซนทรัมต้นสูง 4 – 10 ซม. แผ่นใบหนาและแข็งดอกสีชมพูอมม่วงช่อดอกตั้งตรงดอกค่อนข้างแน่นเรียงตัวเวียนสลับรอบแกนออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
เอื้องเข็มม่วง

ไม้น้ำใบเดี่ยวดอกเดี่ยวก้านดอกยาวชูดอกขึ้นมาเหนือน้ำกลีบดอกมีหลายสีแล้วแต่สายพันธุ์เรียงซ้อนกันหลายชั้นให้กลิ่นหอมอ่อนๆ
บัว

เป็นทั้งไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุกดอกมี 2 กลีบรูปทรงคล้ายฝาหอยสีน้ำเงินอมม่วงปลูกง่าย ดูแลง่ายให้ดอกตลอดปี นิยมนำสีจากดอกมาทำเป็นสีผสมอาหาร
อัญชัน

ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางดอกใหญ่หลายสีสันตั้งแต่ชมพูไปถึงม่วงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับออกดอกในช่วงร้อน
อินทนิลน้ำ

ไม้พุ่มกิ่งอ่อนดอกอยู่รวมกันเป็นช่อค่อนข้างแน่นมีสีม่วงหรือสีขาวกลีบดอกเป็น 5 แฉกให้ดอกตลอดปีนิยมนำมาร้อยมาลัย
รัก


คนเกิดวันพุธมีศิลปะในการพูดคุย มีไหวพริบดี มีน้ำใจไมตรี ชอบเห็นคนรอบข้างมีความสุข เป็นคนช่างฝัน และมีโลกส่วนตัวสูง ถ้าคิดจะรักใครก็จะมั่นใจแล้วว่าใช่ และเป็นความรักแบบค่อยเป็นค่อยไป ผูกพันลึกซึ้ง คนเกิดวันพุธควรระวังเรื่องการใจอ่อน ใจดี ใจกว้าง และเชื่อคนอื่นง่ายจนเกินไป
ไม้มงคลสำหรับคนที่เกิดวันพุธคือ ไม้ดอกที่มีสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลืองจะช่วยเสริมสิริมงคลให้คนเกิดวันพุธยิ่งนัก

ไม้พุ่มขนาดกลางกลีบดอกเรียวยาวบิดเป็นเกลียวปลายโค้งงอสีเหลืองอมเขียวกลิ่นหอมให้ดอกตลอดปี
กระดังงาสงขลา

ไม้ยืนต้น ดอกช่อสีเหลืองกลีบดอกรูปไข่นิยมปลูกไม่ร่มริมทาง
ขี้เหล็ก

เป็นพันธุ์ไม้พุ่ม ใบเดี่ยวออกสลับรอบกิ่งใบอ่อนมีสีเหลืองสลับเขียวเมื่อใบแก่จะมีสีสันลวดลายต่างกันไปตามพันธุ์
โกสน

ลำต้นเป็นลำ แตกใบเรียงวนถี่หนาแน่นที่ปลายยอดมีทั้งชนิดใบเขียวล้วนและเขียวแถบเหลืองให้ดอกในที่อากาศเย็นหอมแรงในตอนกลางคืน
วาสนา

ไม้พุ่ม ดอกมีขนาดเล็กและมีกลิ่นหอมช่อดอกสีเหลืองนวลไม่ชอบอากาศร้อนและแสงแดดจัด
หอมหมื่นลี้


คนเกิดวันพฤหัสบดี จะมีรูปร่างสง่างามทั้งชายและหญิง มีสติปัญญาเป็นเลิศ ละเอียด ลึกซึ้งใฝ่หาความรู้ พูดจาฉะฉานมีหลักการ มุ่งมั่น และทะเยอทะยานสูง โกรธง่ายหายเร็ว วางแผนอย่างรอบคอบและอดทนรออย่างใจเย็น เป็นคนรักจริงเกลียดจริง เข้ากับคนง่ายแต่ไม่รักใครง่ายๆ แต่เมื่อรักแล้วก็จะรักอย่างซื่อสัตย์
โดยทั่วไป สีของวันพฤหัสบดี คือสีแสด แต่ไม้มงคลสำหรับคนเกิดวันพฤหัสบดี คือไม้ที่มีดอกสีขาวบริสุทธิ์ เป็นสีที่เสริมสร้างบารมี และเป็นสิริมงคลความรุ่งโรจน์ สำหรับผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีอย่างยิ่ง

ไม้พุ่มขนาดเล็ก ออกดอกตลอดปีดอกช่อสีขาวบานสะพรั่งเต็มต้นปลายดอกแยกเป็น 5 แฉกกิ่งก้านมีสีน้ำตาลแดงกลิ่นหอมชอบแสงแดดจัด
พุดพิชญา

ไม้พุ่ม ยืนต้นขนาดกลางดอกช่อสีขาวมีกลิ่นหอมแรงในช่วงเย็นถึงค่ำให้ดอกตลอดปีแต่จะมากพิเศษช่วงต้นปี
โมก

ไม้ดอกที่มีความหมายแทนความบริสุทธิ์ของจิตใจเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยชอบดินชื้นและแสงแดดจัดดอกสีขาวกลิ่นหอมเย็นเริ่มบานในช่วงกลางคืนนิยมนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยและถวายพระ
มะลิลา

เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กดอกช่อสั้น สีขาวกลิ่นหอมแรงจะออกดอกมากในช่วงต้นและกลางฤดูฝน
แก้ว

ไม้เถาเลื้อย ดอกช่อสีขาวกลิ่นหอมคล้ายใบเตยชอบดินชื้น และแสงแดดจัดให้ดอกตลอดปีดำชำมะนาดเป็นหนึ่งในตำรับการทำเครื่องหอมไทยมาแต่โบราณ
ชำมะนาด


คนเกิดวันศุกร์ มักเป็นคนที่มีบุคลิกดี อ่อนหวานอ่อนน้อม รักสวยรักงาม ชอบความหรูหรา ขี้น้อยใจแต่จิตใจดี มีน้ำใจเมตตาต่อผู้อื่น คนเกิดวันศุกร์มักมีชีวิตพัวพันอยู่กับความรัก ให้ความสำคัญกับความรักและคนรักมากเป็นพิเศษ เป็นคนโรแมนติก แต่ก็มักไม่สมหวังในความรัก
โดยทั่วไป สีของวันศุกร์ คือสีฟ้า แต่ไม้มงคลสำหรับคนที่เกิดวันศุกร์คือไม้ที่มีดอกสีชมพู หรือแดง เป็นดอกไม้ที่ต้องโฉลกสร้างความเป็นสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรืองให้คนที่เกิดวันศุกร์เป็นอย่างมาก

ไม้มงคลตลอดกาลของคนจีนเป็นศูนย์รวมแห่งความหมายอันเป็นมงคลโป๊ยเซียนเป็นไม้พุ่ม มีหนามรอบลำต้นและกิ่งดอกช่อทั้งเดี่ยวและซ้อนมีหลายสีหลายพันธุ์ในฤดูหนาวและร้อนดอกจะสวยที่สุด
โป๊ยเซียน

ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กใบเดี่ยวรูปไข่ ปลายใบเว้าดอกช่อ สีชมพูอ่อนและสีขาวนิยมปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง
ชงโค

ไม้เลื้อยกลางแจ้งดอกช่อคล้ายดอกเข็มแรกบานเป็นสีขาวเมื่อแก่จัดเป็นสีชมพูเข้มกลิ่นหอมจัดในช่วงกลางคืน
เล็บมือนาง

ไม้ประดับกลางแจ้งทรงพุ่มโปร่งดอกสีชมพูคล้ายดอกตะแบกปลายกลีบดอกเป็นขอบหยักและบิด
ยี่เข่ง

ไม้ประดับกลางแจ้งดอกช่อสีชมพูเข้มทรงกรวยปากบานชอบแดดจัดและทนความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี
ชวนชม

พรรณไม้ไทย

ตามมงคลความเชื่อของคนไทย ถ้าผู้ใดปรารถนาจะปลูกต้นไม้ให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้เกิดสิริมงคลแก่บ้านเรือน ท่านให้ปลูกต้นไม้ต่างๆ ตามทิศที่กำหนดจะเป็นมงคลทิศตะวันออก - ไผ่ , มะพร้าวทิศตะวันออกเฉียงใต้ - ยอ , ต้นสารภีทิศใต้ - มะม่วงทิศตะวันตกเฉียงใต้ - ชัยพฤกษ์ , สะเดา , ขนุน , พิกุลทิศตะวันตก - มะขาม , มะยมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ - มะกรูด , มะนาวทิศเหนือ - พุทรา , ว่านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ - ทุเรียน
ดอกไม้บางชนิดมีความหมายในตัวเอง เป็นสัญญาลักษณ์ทั้งของไทยและสากลดอกรัก - แทนความรักระหว่างชาย - หญิงดอกกุหลาบ - กุหลาบขาว คือความเคารพ ชมพูและเหลือง คือการเยี่ยมเยียน สีแดง คือความรักดอกจำปา - ห้อยหูทั้งสองข้าง แสดงความรัก
ว่านพืชมีหัวอยู่ใต้ดิน มีอยู่กว่า 3000 ชนิดในเมืองไทย ซึ่งนิยมปลูกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยคุณประโยชน์ทางยา และความเป็นสิริมงคล ตลอดจนความเชื่อในด้านป้องกันและคุ้มครองว่านมหาลาภ - มีโชคมีลาภแก่เรือนว่านมหาโชค - โชคลาภ เมตตามหานิยม ค้าขายดีว่านกวักโพธิ์เงิน-โพธิ์ทอง - มีโชคลาภ เป็นสิริมงคลด้านค้าขาย
ดอกไม้กับวิถีชีวิตของไทย ผูกพันกันมานาน จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เช่น ชัยพฤกษ์ หรือดอกคูน ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494กล้วยไม้ - มีความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกดอกไม้ที่เป็นอาหาร - ใช้ประกอบอาหารตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ดอกแค ดอกขี้เหล็ก หัวปลี
ไม้มงคล 9 ชนิด ตามคติความเชื่อของไทยโบราณในการก่อสร้างอาคาร หรือประดิษฐานถาวรวัตถุต่างๆ นิยมมีพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยใช้ไม้มงคล 9 ชนิด ปักกับพื้นดินตามความหมาย ชัยพฤกษ์ - หมายถึง มีโชคชัย ราชพฤกษ์ - หมายถึง เป็นใหญ่มีอำนาจ ทองหลาง - หมายถึง มีเงิน มีทอง ไผ่สีสุก - หมายถึง มีความสุข กันเกรา - หมายถึง ป้องกันภัย ทรงบาดาล - หมายถึง ความมั่นคง สักทอง - หมายถึง ศักดิ์สิทธิ์สมปรารถนา พะยุง - หมายถึง การพยุงฐานะให้สูงขึ้น ขนุน - หมายถึง หนุนให้ดีขึ้น
เคล็ดความเชื่อของคนไทยที่มีมาแต่โบราณ หากใครปลูกต้นไม้หรือดอกไม้ประจำวันเกิด แล้วต้นไม้ออกดอกเจริญงอกงามดี ชี้วัดว่าจะก้าวหน้า แข็งแรง เป็นสุข วันอาทิตย์ - จำปา , โกสน วันจันทร์ - พลูด่าง , มะลิซ้อน วันอังคาร - เข็ม , โกสน วันพุธ - กวนอิม , โป๊ยเซียน วันพฤหัสบดี - พุดซ้อน , พุดจีบ , ราตรี วันศุกร์ - กุหลาบ , ชบา , อัญชัน วันเสาร์ - มะลิ , วาสนา
พืชพันธุ์ไม้บางชนิด คนโบราณนับถือกันมานาน เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่ใช้บูชาหรือเป็นต้นไม้เทพเจ้า ชมพูชูลาภ - บัวไทยที่ปลูกไว้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์มงคล กรรณิการ์ - มีดอกสีขาว จัดเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ดอกไว้ใช้บูชา กัลป์พฤกษ์ - ถือเป็น 1 ใน 5 ของไม้สวรรค์ มะลิ - ดอกไม้ประจำพระนารายณ์
เครื่องหอมไทยจากไม้นานาพรรณ ของดีของไทยแต่โบราณ ปัจจุบันมีการสกัดเป็นสารระเหย เพื่อเป็นส่วนผสมในของใช้ประจำวันต่างๆ เช่น โลชั่น น้ำหอม แชมพู อาหาร ฯลฯ จามความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้เรามีพรรณไม้หอมมากมาย ที่ให้กลิ่นแตกต่างกันไป กระดังงา , มะลิ , กุหลาบ - สกัดสารระเหยจากดอก บางชนิดก็สกัดจากส่วนอื่น เช่น กฤษณา จันทนา อบเชย การบูร
ต้นไม้ที่ให้ดอกต่างๆ ของไทย ล้วนให้สรรพคุณทางยาต่างๆ ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ กันภัย - เมล็ด ใช้บำรุงไขมัน เส้นเอ็น รัก - ดอก ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้ไอ และหืด พุทธรักษา - ดอก ใช้ห้ามเลือด หรือรักษาแผลที่มีหนอง
ขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นมงคลของไทย มักจะมีพืชพรรณดอกไม้มาเกี่ยวข้องด้วยอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลแก่พิธีการ งานแต่งงาน - ในขันหมากจะมีดอกบานไม่รู้โรย กุหลาบ มะลิ ฯลฯ แสดงถึงความรัก สดชื่น ยั่งยืน งอกงาม ไหว้ครู - ดอกเข็ม ให้ปัญญาแหลม ดอกมะเขือ ให้มีความรู้มาก หญ้าแพรก ให้รู้รวดเร็ว วันแม่ - มะลิ บริสุทธิ์ ดังความรักที่แม่มีต่อลูก
วัฒนธรรมการร้อยเรียงประดิษฐ์ดอกไม้ของคนไทย มีมากมายหลายรูปแบบ ตามหน้าที่ประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันไป ซึ่งในแต่ละแบบก็ล้วนมีการร้อยหรือจัดแต่งอย่างประณีต สวยงาม อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่น มาลัย - ใช้บูชาพระหรือแสดงการต้อนรับผู้มาเยือน พานดอกไม้ - ใช้ในการประกอบพิธีมงคลต่างๆ นอกจากนี้กระทง เครื่องแขวน บายศรี ฯลฯ ต่างก็มีดอกไม้มงคลแทบทั้งสิ้น เช่น บานไม่รู้โรย ดาวเรือง ดอกรัก มะลิ เป็นต้น
ดอกไม้ของไทยบางชนิด มีชื่ออันเป็นมงคล และนำไปใช้ในงานมงคล พิธีกรรม ประเพณี ตลอดจนปลูกเพื่อเป็นสิริมงคล ดอกบานไม่รู้โรย - ความมั่นคง , ความรักใคร่กลมเกลียว ดอกดาวเรือง - ความรุ่งเรือง , ความเจริญ ดอกพุทธรักษา - พรพพุทธเจ้าคุ้มครอง และเป็นสัญญาลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ เฟื่องฟ้า - ความเจริญรุ่งเรือง

ประวัติความเป็นมาของธงชาติไทย




ประวัติความเป็นมาของธงชาติไทย

‘ธงชาติ’ เป็นเครื่องหมายสำคัญแสดงความเป็นชาติจึงควรที่ประชาชนจะต้องเคารพ และทำความเข้าใจในลักษณะและความหมายของธงชาติให้ถ่องแท้ ธงชาติไทย ในปัจจุบัน มี 3 สี คือ แดง ขาว น้ำเงิน จึงเรียกว่า ธงไตรรงค์ แปลว่า ธงสามสี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาคิดค้นประดิษฐ์ธงชาติขึ้น และทรงตราพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2460 ออกประกาศเมื่อ 24 กันยายน 2460 มีความสำคัญเกี่ยวกับลักษณะของธงชาติ ดังนี้
“เป็นธงรูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่อยู่กลางกว้าง 1 ใน 3 ของความกว้างของธง มีแถบสีขาว 1 ใน 6 แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่าแถบสีขาว … พระราชทานนามว่า ธงไตรรงค์”
ก่อนที่จะมีธงไตรรงค์ นี้ ไทยเคยมีธงประจำชาติใช้มาแล้ว ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ระหว่าง พ.ศ.2360-2366 โปรดให้ส่งเรือกำปั่นหลวงไปค้าขายระหว่างกรุงเทพฯ สิงคโปร์ และมาเก๊า ซึ่งเป็นสถานีค้าขายของอังกฤษ โดยโปรดให้ติดธงสีแดง แต่ ปรากฏว่าไปเหมือนกับธงเรือสินค้าของชาติมลายู เจ้าเมือง สิงคโปร์ จึงขอให้เรือไทยใช้ธงสีอื่นให้ต่างกันออกไป ในระยะนั้น ระจวบกับมีช้างเผือกมาสู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดให้นำ รูปช้างสีขาวในวงจักรสีขาว ติดไว้กลางธงแดง มีความหมายว่า ธงชาติของพระเจ้าแผ่นดินที่มีช้างเผือก ต่อมาในรัชกาล ที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำสัญญาค้าขายกับชาวยุโรปและอเมริกา มีผู้แทนของชาติต่างๆ มาตั้งกงสุล เพื่อติดต่อประสานงานด้านการค้า กงสุลเหล่านั้นชักธงชาติขึ้น เป็นเครื่องหมายแห่งประเทศของตน จึงมีพระราชดำริให้มีธงชาติสยาม ให้ทัดเทียมอารยประเทศ โดยโปรดให้ใช้ ธงช้างเผือกเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ใช้อยู่ แต่นำรูปวงจักรออก คงมีแต่ช้างเผือกอยู่กลางธงแดง แล้วทรงประดิษฐ์ธงอีก 2 แบบ คือ ธงมหามงกุฎ เป็นธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ (พระนามเดิม คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ) และธงไอยราพตเป็นธงประจำรัฐบาลไทย และโปรดให้ตราพระราชบัญญัติธงสยาม ร.ศ.110 พระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทรศก 116 พระราชบัญญัตธงรัตนโกสินทรศก 118 ลักษณะธงตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็น ธงพื้นแดงตรงกลางมีช้างเผือกหันหน้าเข้าหาเสา
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตราพระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทรศก 129 เมื่อ 21 พฤศจิกายน แก้ไขธงชาติเป็นธงพื้นแดงกลางเป็นรูปช้างเผือกยืนแท่น เริ่มใช้เมื่อ 1 มกราคม 2459 ครั้นถึงพุทธศักราช 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นฝ่ายสัมพันธมิตรรบกับเยอรมนี ออสเตรีย และอังการี มีพระราชดำริว่า ธงชาติที่ใช้อยู่ก่อนมีลักษณะและสีไม่สง่างาม เช่น ธงของอารยประเทศ และมีผู้เล่าไว้ว่า คราวหนึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังอุทัยธานีราษฎรมีความจงรักภักดี จึงหาธงช้างยืนแท่นมาติดตามบ้านเรือนเพื่อรับเสด็จ ได้ทอดพระเนตรเห็นบ้านหนึ่งแขวนธงช้างยืนเท้าชี้ขึ้นข้างบน จึงมีพระราชดำริให้ปรับปรุงธงชาติใหม่ ทรงพระราชดำริว่า ควรเป็นธงแถบขาวแดงและทรงริเริ่มประชาธิปไตยคือ ทรงรับฟังความเห็นของประชาชนด้วย ต่อมามีผู้ใช้นามแฝงว่า อแคว์เรียส ส่งมาพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ ภาษาอังกฤษ ฉบับ 15 สิงหาคม เสนอแนะให้ใช้ธงมีสามสี เหมือนของชาติฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยให้มีสีน้ำเงินตรงกลาง มีความหมายถึง พระมหากษัตริย์ โดยเสนอแนะด้วยว่า น่าจะเป็นที่พอใจของประเทศพันธมิตร และในวาระที่ประเทศไทยเข้าสู่เหตุการณ์สำคัญ เช่น สงครามโลก ก็จะทำให้ประชาชนชาวไทยและชาวโลก ระลึกถึงความสำคัญของพระมหากษัตริย์พร้อมกันไปกับชาติไทยด้วย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบ จึงทรงประดิษฐ์ ธงไตรรงค์ ขึ้นใช้เป็น ธงชาติ และทรงตราพระราชบัญญัติ ธงออกประกาศใช้ดังกล่าวมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง ความหมายของธงไตรรงค์ ไว้ดังนี้
ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย แห่งสีทั้งสามงามถนัด
ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตใจ
แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษาชาติศาสนา
น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของส่วนองค์
จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึงเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทย
ทหารอวตารนำไป ยงยุทธวิชัย วิชิตก็กู้เกียรติสยาม
ครั้นถึงรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชบันทึกพระราชทานไปยังองคมนตรี เพื่อให้เสนอความเห็นของคนหมู่มากว่า จะคงใช้ธงไตรรงค์ดังที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไป หรือจะกลับไปใช้ธงช้างแทน หรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติ กับวิธีใช้ธงไตรรงค์อย่างไร ปรากฏว่าความเห็นขององคมนตรีแตกต่างกระจายกันมาก จึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติต่อไปตามพระราชวินิจฉัยพุทธศักราช 2479 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติธงซึ่งยังคงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติเช่นเดิมแต่ ได้อธิบายลักษณะธงไว้เข้าใจง่ายและชัดเจน ดังนี้ ‘ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้าง 2 ใน 6 ส่วน ตรงกลางเป็นสีขาบต่อจากแถบสีขาบออกไปสองข้าง ๆ ละ 1 ส่วนใน 6 ส่วนเป็นแถบสีขาว ต่อจากสีขาวออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีแดง ‘
ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ ได้ใช้มาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 จนถึงปัจจุบัน
(ข้อมูล : สารานุกรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม 1; ของดีในประวัติศาสตร์และโบราณคดีของ ตรี อมาตยกุล: ตำนานธงไทย) ขอบคุณ www.banfun.com ที่อนุเคราะห์รูปภาพประกอบ

แนะนำพี่น้องนวมินทราฯศูนย์กาฬสินธุ์

ห้าหนุ่มหล่อ

สุธี ยิ่งยศ ธวัชชัย ชัยบัญชา สหรัช